มาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเพลงกันเถอะ

มาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเพลงกันเถอะ

เพลงและดนตรีเป็นสิ่งที่คอยปลอบประโลมมนษย์เรามาเป็นเวล่อย่างยาวนาน เป็นตัวแทนของจิตนาการและความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นเครื่องบันทึกความทรงจำได้มากกว่าที่ตัวเราเองจะคาดถึงอีกด้วยครับ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มีเพลงในใจหรือเพลงติดหูที่พอว่างเป็นอันต้องเผลอฮัมทำนองเพลงกัน แต่ท่านจะทราบกันมั้ยหล่ะครับว่า กว่าจะได้มาเป็นเพลง เพลงหนึ่งที่ท่านชอบนั้น จะต้องทำอะไรบ้าง? แล้วอุปกรณ์ที่เค้าใช้มาทำเพลงกันนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร? บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจพร้อมกับหาคำตอบกันครับ

ขั้นตอนการทำเพลงสัก 1 เพลงทำอะไรบ้าง?

การแต่งเพลงไปจนถึงการปล่อยเพลงออกมาให้ทุกท่านได้ฟังนั้น มีขั้นตอนแฝงมากมายซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

วางแนวเพลง

การนำไอเดียของคุณมาทำให้เป็นจริง  บริษัททำเพลงมักฮัมทำนองท่อนต่าง ๆ เขียนเนื้อเพลง ลองเล่นคอร์ดต่าง ๆ ด้วยเครื่องดนตรีที่คุณสนใจ

เรียบเรียง

ถึงแม้ว่าเพลงนั้นจะมีจังหวะและทำนองที่ดี การใช้การเรียบเรียงที่ซ้ำซากและไม่ละเอียดนั้นก็อาจทำให้เพลงนั้นแย่ได้เหมือนกัน  การเรียบเรียงเพลงคือการเลือกเครื่องดนตรีสำหรับเล่นส่วนต่าง ๆ ในเพลง ให้เหมาะและไพเราะขึ้น

บันทึกเสียง

การอัดบันทึกเสียงคือการจดบันทึกการแสดงของเพลงนั้นไว้  ถึงแม้ว่าการเล่นเพลงนั้นสดๆ จะสามารถสื่อสารความรู้สึกของเพลงนั้นได้ดี หากไม่มีการบันทึกไว้ ก็จะไม่สามารถย้อนฟังเพลงดังกล่าวและนำไปพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปได้

ตัดต่อหรืออีดิต

‍        คุณอาจไม่อยากอีดิต(Edit) เพลงซึ่งเป็นการเอาไฟล์เสียงมาตัดต่อให้สมบูรณ์แบบก่อนที่จะไปในกระบวนการถัดไปโดยการอีดิต (Edit) เพลงคือการลาก แปะ ตัด คัดลอก ควอนไทซ์ (Quantize) เป็นชื่อTools หนึ่งในโปรแกรม และผสมส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากันในเพลง บางครั้งก็เป็นการปรับแต่งเล็กน้อย เช่น การเพิ่มเครื่องดนตรี หรือตัดเครื่องดนตรีออก การควบคุมระดับอัตโนมัติ การยืดหรือกระชับส่วนต่าง ๆ  ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความละเอียดและเวลาค่อนข้างมาก ซึ่งผู้รับทำซาวด์ดนตรีหรือบริษัทรับทำดนตรีเพลงทั้งหลายย่อมมีความเชี่ยวชาญในขั้นตอนนี้

การมิกซ์เพลง

การมิกซ์เสียงเป็นกระบวนการสำคัญของการผสมชั้นต่างๆ ของเสียงเข้าด้วยกันเพื่อทำเป็นแทรคสุดท้าย กระบวนการการมิกซ์นั้นรวมถึงการปรับสมดุลระดับเสียง การ Pan ฃ เสียงตามทิศทางต่างๆ การคอมเพรส การเสริมเสียงประสาน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงการใส่เอฟเฟกต์เพิ่มเติมด้วย  นอกจากนี้การมิกซ์ยังรวมถึงการแก้ไขเสียงด้วยวิธีเชิงสร้างสรรค์ ทำให้สามารถได้ยินเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้อย่างชัดเจนด้วย

●การมาสเตอร์เพลง

มาสเตอร์ คือ ขั้นสุดท้ายในกระบวนการทำเพลงคือการมาสเตอร์เสียง  การมาสเตอร์เป็นกระบวนการหลังการผลิต ซึ่งนำไฟล์เสียงหรืออัลบัมที่มิกซ์แล้วมาเตรียมความพร้อมสำหรับการเผยแพร่  ขั้นตอนนี้รวมการปรับสมดุล การคอมเพรส การเสริมและการจำกัดเสียงสเตริโอหรือเสียงอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกก่อนปล่อยนั้นเอง

อุปกรณ์จำเป็นสำหรับทำเพลง

–          คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับตัดต่อแต่งเติมเพลงให้สมบูรณ์

–          Digital Audio Workstation (DAW) คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับบันทึกและปรับแต่งเสียง ส่วนมากมีการทำงานคล้ายกันคือจะมี Tracks ต่างๆ ให้เลือกสรรปรับเปลี่ยนมากมาย

–          ซาวการ์ด (Audio Interface) ซ คือศูนย์กลางการแปลงสัญญาณระหว่าง Digital กับ Analog ของสตูดิโอของคุณ ให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีการอัดเสียงเช่น เสียงร้อง คุณก็ต้องใช้ไมโครไฟนที่แปลงเสียงของคุณให้เป็นสัญญาณ Analog สัญญาณนี้ก็จะเดินทางผ่านสายเข้าไปใน Audio Interface แล้วถูกแปลงเป็นดิจิตอล บันทึกเก็บเอาไว้ในคอมฯ ของคุณ

–          MIDI Keyboard เอาไว้สำหรับเล่นกับ Sample Library ของคุณ โดยการโหลดเครื่องดนตรีขึ้นมาใน DAW แล้วก็กดปุ่มอัดเสียง แล้วเล่น MIDI Keyboard เพื่อบันทึกลงไป

–          Sample Libraries และ Audio Processing Software คือไฟล์เสียงที่บันทึกไว้เป็นจำนวนมาก และถูกเขียนโปรแกรมให้เป็นซอฟท์แวร์ ที่พร้อมจะ playback เสียงต่างๆ ออกมาตามข้อมูล MIDI ที่ได้รับ

–          ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์สำหรับอัดเสียงร้องเพลงของนักร้องและอัดเสียงดนตรีท่วงทำนองต่างๆ

–          ลำโพงมอนิเตอร์ คือ ใช้สำหรับมอนิเตอร์เสียงเพลงที่ได้

และนี้คือเนื้อหาเกี่ยวกับ “มาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเพลงกันเถอะ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นปะโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

Marilyn Montgomery

Related Posts

Read also x